อัจฉริยะมักเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ จริงหรือไม่

ความเป็นอัจฉริยภาพนั้นหลายคนอยากจะเป็น อยากจะมีความสามารถอย่างนั้น แต่รู้หรือไม่ว่าการเป็นอัจฉริยะขนาดนั้นอาจจะมีสิ่งที่ต้องสูญเสียไป อย่าง ไอน์สไตน์ เองเรารู้กันว่า เค้าคือนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก อีกมุมหนึ่งเค้าก็มองว่า ไอน์สไตน์เองก็มีความผิดปกติเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ด้วย ถามว่าอัจฉริยะมักเป็นโรคนี้จริงหรือไม่ เรามาวิเคราะห์กัน

โรคแอสเพอร์เกอร์ไม่มีผลต่อการเรียนรู้

ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจพื้นฐานของโรคแอสเพอร์เกอร์ก่อนว่า แม้ว่าโรคนี้จะมีความผิดปกติจริง มีผลต่อตัวเด็กจริง แต่มันเป็นผลด้านพัฒนาการทางสังคมเท่านั้น การเข้าสังคม การเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน การตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างคนเป็นโรคนี้จะทำได้ไม่ดี หรือ ทำได้ทิศทางตรงข้าม โรคนี้ไม่ได้มีผลต่อการเรียนรู้แต่อย่างใด ดังนั้นคนเป็นโรคนี้ก็ไม่ได้กระทบต่อความเป็นอัจฉริยะสักเท่าไร

สนใจสิ่งใดแต่เพียงอย่างเดียว

เคล็ดลับสำคัญของการเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ จนทำให้อาจจะกลายเป็นอัจฉริยะได้นั่นก็คือ เด็กที่เป็นโรคนี้มักจะไม่สนใจสิ่งอื่นรอบตัวเลย(เค้ามีปัญหาด้านสังคม เลยเมินเฉยสังคม) แต่กลับให้ความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากแทน มากจนเรียกได้ว่าอยู่ในทุกลมหายใจได้เลย การสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวนี่แหละเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ความสำเร็จเพื่อเดินขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของอัจฉริยะ อย่างไอน์สไตน์เอง ความฉลาดของเค้าทำให้คนในยุคนั้นไม่สามารถตามได้ทัน อีกทั้งเค้าก็ไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ด้วย บวกกับไม่ชอบเค้าสังคมอยู่เป็นทุนเดิม ทำให้เค้าหมกมุ่นคิดค้นเรื่องราวทฤษฏีของเค้าไปได้เรื่อยๆ จนขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของความเป็นอัจฉริยภาพดังกล่าว

ไม่มีสังคม ไม่มีความกดดัน

การมีปัญหาทางด้านสังคมของโรคแอสเพอร์เกอร์นั้น หากมองว่าเป็นปัญหาก็เป็นปัญหาจริง แต่หากมองอีกมุมหนึ่งการมีปัญหาทางด้านสังคมก็ทำให้อัจฉริยะหลายคนที่มีโรคนี้ประกอบด้วยนั้น ขาดความกดดัน ขาดกรอบแนวคิดจะมาครอบเค้าไว้อีกที เมื่อไม่มีการฉุดรั้ง ไม่มีกรอบ ทำให้แนวคิดของเค้าออกเดินทางไปได้ไกลสุดขอบจักรวาล ลองนึกภาพ ไอน์สไตน์ คิดทฤษฏีเรื่องราวเกี่ยวกับหลุมดำบนห้วงอวกาศ จากนั้นเล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนก็หัวเราะ หาว่าบ้า ไอน์สไตน์ อาจจะเชื่อเพื่อน จึงไม่คิดค้นเรื่องนี้ต่อ ก็เป็นได้ โชคดี ไอน์สไตน์ ไม่คิดแบบนั้น

อย่างไรก็ตามแม้เราจะเชื่อว่า โรคแอสเพอร์เกอร์เป็นส่วนหนึ่งด้านพฤติกรรมหนุนให้คนก้าวเข้าสู่ความเป็นอัจฉริยะก็จริง แต่หากลูกหลานของเราเป็นโรคนี้ ก็ต้องไปพบแพทย์เพื่อแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวด้วย อย่าลืมว่า ยุคสมัยของไอน์สไตน์ กับตอนนี้แตกต่างกันมาก หากไม่พบแพทย์โรคนี้อาจจะกลับมาทำร้ายลูกหลานเราได้ก่อนจะเป็นอัจฉริยะเสียอีก