สาเหตุเบื้องต้นที่ก่อให้เกิด แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม

โรค ‘Asperger’s Disorder’ จัดเป็นโรคที่มาจากความไม่สมบูรณ์แบบ ในรูปแบบหนึ่งซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัว อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรค ‘Autistic Disorder’ หากแต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง และเป็นเวลายาวนานกว่า 70 กว่าปีแล้ว ที่มีการรายงานว่าพบผู้ป่วยโรคนี้ โดยในปี ค.ศ.1934 นายแพทย์นาม ‘Hans Asperger’ กุมารแพทย์ชาวออสเตรีย จดบันทึกถึงเด็กเข้าสังคมลำบาก , หมกมุ่นชอบทำอะไรซ้ำๆไปซ้ำมา , พูดเก่งมาก และฉลาดมากด้วย หากแต่หลังจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น งานนี้จึงเงียบหายไปจนกระทั่งนักวิจัยรุ่นหลังนำมาศึกษาอีกครั้ง

‘Asperger’s Disorder’ เกิดมาจากสาเหตุอะไร ?

เกิดจากการทำงานบางตำแหน่งของสมองที่ผิดปกติไป แต่ก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าอะไร ทำให้สมองทำงานผิดปกติไป ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยออกมาหลายชิ้นก็ตาม หากแต่ก็ยังไม่มีหลักฐานปรากฏยืนยันออกมาอย่างชัดเจน หาแต่อย่างก็ไรตามผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า อาจเกิดมาจากความบกพร่องของพันธุกรรมต่างๆ ซึ่งค่อยๆ สะสมความผิดปกติมาจากบรรพบุรุษและปรากฏออกมาในรุ่นหนึ่ง

สังเกตพฤติกรรมของเด็กที่เป็น ‘Asperger’s Disorder’

เด็กที่เป็น ‘Asperger’s Disorder’ จะแสดงอาการตั้งแต่อายุเพียงแค่ 3 ขวบเท่านั้น หากแต่อาการจะปรากฏออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีอายุ 5-9 ขวบ โดยโรคนี้ไม่ได้แสดงออกมาทางลักษณะภายนอก หากแต่จะแสดงออกมาทางการแสดงออก แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่…

  1. ด้านภาษา
  • สามารถใช้ภาษาสื่อสารได้ตามปกติ หากแต่จะมีปัญหาไม่เข้าใจในภาษา กำกวม , มุกตลก , คำผวน เป็นต้น
  • พูดเรื่องตัวเองมากกว่าเรื่องอื่น
  • มีปัญหาเมื่อต้องอ่านหรือเขียนหนังสือ
  • ไม่รู้จักการทักทาย เมื่อต้องการพูดก็จะออกมาเลย โดยไม่ดูสถานการณ์

2.ด้านสังคม

  • ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • เข้ากับคนอื่นไม่ค่อยได้
  • ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่มีมารยาท
  • ไม่ค่อยมองหน้า ไม่ยอมสบตา
  • ไม่มีสัมพันธภาพตอบสนองต่อสังคม

3.ด้านพฤติกรรม

  • ชอบทำอะไรแบบหมกมุ่น เฉพาะในสิ่งที่ตนเองชอบ และจะรู้ลึกรู้จริงมาก
  • ท่วงท่าการเดิน รวมทั้งท่าทางการเคลื่อนไหวของแลดูชักช้า เอื่อยเฉื่อย
  • มีพฤติกรรมบางอย่างไม่เกรงใจ เช่น กินเมื่อข้าวร้านหนึ่งแล้วไม่อร่อย เด็กที่เป็นโรคนี้ก็จะพูดออกมาดังๆ เลยว่า ‘ไม่อร่อย !!’

ถึงแม้ว่าโรค ‘Asperger’s Disorder’ จะยังไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้หายขาดได้ หากแต่ก็ช่วยเหลือให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคมที่ดีขึ้นได้ ช่วยส่งเสริมการพัฒนาการให้เด็กเรียนรู้ รวมทั้งให้เขาได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ ในส่วนของแนวทางการดูแลรักษา ก็ใช้แนวทางเดียวกับการดูแลรักษา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขในด้านที่เป็นปัญหา ผสมผสานไปกับการส่งเสริมในด้านอันดีงาม อันเป็นพื้นฐานของเด็กเป็นหลักการสำคัญ